ถังบำบัดน้ำเสี
ถังบำบัดน้ำเสี
สารบัญสำคัญ
- คุณสมบัติการใช้งาน ถังบำบัดน้ำเสียไฟเบอร์กลาส 10000 ลิตร ชนิดเติมอากาศ
- วิธีทำงาน ถังบำบัดน้ำเสีย 10000 ลิตร เติมอากาศ
- เปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสียของ ถังบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ(Aerobic) – แบบไร้อากาศ(Anaerobic)
- ถังบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ ที่ผ่านบำบัดแล้วได้ค่า BOD เข้า-ออก เท่าไหร่ ?
- วิธีติดตั้ง ถังบำบัดน้ำเสียไฟเบอร์กลาส 10000 ลิตร ชนิดเติมอากาศ
- สูตรคำนวณ ถังบำบัด 10000 ลิตร เติมอากาศ
- สรุปสำคัญ
คุณสมบัติถังบำบัดน้ำเสียไฟเบอร์กลาส 10000 ลิตร ชนิดเติมอากาศ
คุณสมบัติวัสดุไฟเบอร์กลาส เลขที่มอก.435-2548 ใช้ไฟเบอร์เรซิ่น เรียกกันสั้นๆว่า ” FRP “ แปลเป็นไทยชื่อ โพลีเมอร์เสริมใย วัสดุนี้ช่วยทำให้ ถังพัฒนาได้ดีขึ้นกว่า เพราะ สมัยโบราณย้อนกลับไป 50-60 ปีที่ผ่านมา ยังเป็นแค่ระบบบ่อเกรอะ-ส้วมซึม หรือส้วมหลุม ทำให้ไม่ถูกสุขลักษณะเท่าไหร่นัก
เมื่อกาลเวลาผ่านมา จึงเกิดวิวัฒนาการ มีถังบำบัดไฟเบอร์กลาส รูปแบบแคปซูล ทำให้ระบบภายใน สามารถแบ่งห้องซอย เพื่อการบำบัดที่ดี แบ่งเป็นระบบเกรอะ ระบบเติมอากาศ ระบบตกตะกอน
ทำให้ได้คุณภาพน้ำออกมาได้ดี โดยใช้อุปกรณ์ที่มีส่วนร่วม สำหรับการติดตั้งมี ปั๊มเติมอากาศ ลวดสลิง ฝาปิด ข้อต่ออ่อน หัวเชื้อจุลินทรีย์ มีเดีย
- วัสดุที่ผลิต ไฟเบอร์กลาส มาตรฐานอุตสาหกรรม มอก.435-2548 ด้วยการพันไขว้ เพื่อให้เกิดความหนา ทำให้แข็งแรง ทนทาน
- ทรงแคปซูล ช่วยประหยัดพื้นที่ ด้านกว้างในการติดตั้ง สามารถสั่งผลิตได้หลายขนาด
- รองรับน้ำเสีย จากน้ำขับถ่าย น้ำอาบได้ ก่อนของเสียเข้าระบบ 5-7 วัน ควรเติมหัวเชื้อจุลินทรีย์ในถัง
- ลวดสลิงรัดถัง มีไว้เพื่อไม่ให้
ถัง เคลื่อนหลุดออกจากฐาน เวลาเติ มน้ำและกลบทราย
- ข้อต่ออ่อนพร้อมสายรัด สำหรับติดตั้งโดยการ สวมเข้ากับท่อ PVC เพื่อป้องกั
นการทรุดตัวของท่อ
- มีเดีย มีไว้สำหรับ จุลินทรีย์
เกาะอาศัย อยู่ในตัวถัง มีอายุ การใช้งานที่ยาวนาน
- หัวเชื้อจุลินทรีย์ เกาะอาศั
ยในมีเดีย มีไว้สำหรับ ย่อยสลายของเสีย
- ฝาปิด ABS มีไว้สำหรับป้องกัน สิ่งแปลกปลอม ตกลงในถัง
วิธีทำงาน ถังบำบัดน้ำเสีย 10000 ลิตร เติมอากาศ
ถังบำบัด 10000 ลิตร มีความกว้าง 2.00 m. ความยาว 3.20 m. ความสูง 2.15 m. เหมาะสำหรับ โรงงาน คอนโด โรงแรม ที่มีจำนวนคนใช้งานมาก ถังบำบัดชนิดเติมอากาศ มีประสิทธิภาพบำบัดน้ำได้ 10,000 Liter/Day รับเฉพาะน้ำเสียจากน้ำอาบ-น้ำขับถ่ายได้ดี เรามาดูขั้นตอนบำบัด 3 ส่วนจากหัวข้อต่อไปนี้กัน :
ระบบเกรอะ ให้น้ำเสียไหลผ่านมาทางท่อเข้า เพื่อแยกกากอินทรีย์วัตถุหนัก ทำให้ตะกอนหนักจะจมลงที่ก้นถัง ตะกอนเบาจะไหลไปยังระบบบำบัดถัดไป
ระบบเติมอากาศ ตะกอนน้ำเสียในช่องแรก จะไหลมาสัมผัสถูกลูกมีเดีย ทำให้เกิดการบำบัด จากหัวเชื้อจุลินทรีย์ ซึ่งทำหน้าที่ย่อยสลายอินทรีย์
ระบบตกตะกอน เพื่อให้ตะกอนสกปรกตกลงก้นถัง น้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้ว จึงถูกปล่อยลงสู่ บ่อพัก ที่เตรียมไว้
*ระบบสุดท้าย* : ที่เป็น การตกตะกอน ตัวถังต้องมีความยาวอย่างน้อย ยาว 2.60 m. เพื่อแบ่งห้องภายในให้ได้มาตรฐาน
เปรียบเทียบ ข้อดี-ข้อเสีย ของ ถังบำบัดน้ำเสียไฟเบอร์กลาสแบบเติมอากาศ (Aerobic) และ แบบไร้อากาศ (Anaerobic)
หัวข้อ | แบบเติมอากาศ (Aerobic) | แบบไร้อากาศ (Anaerobic) |
---|---|---|
ข้อดี | ประสิทธิภาพการบำบัดอยู่ในเกฑณ์ดี (BOD,COD) | ไม่ต้องใช้ไฟฟ้าในการเติมอากาศ |
คุณภาพน้ำทิ้งดี เหมาะกับพื้นที่ต้องการน้ำคุณภาพสูง | ติดตั้งง่ายกว่า ดูแลรักษาน้อย | |
ลดกลิ่นเหม็นได้ดีกว่า | ระยะยาวค่าใช้จ่ายในการเดินระบบต่ำกว่า | |
ใช้เวลาบำบัดสั้นกว่า-มีปั๊มเติมอากาศ | ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า | |
ข้อเสีย | หมั่นดูแลเครื่องเติมอากาศ | ประสิทธิภาพการบำบัดต่ำกว่า(น้ำทิ้งอาจไม่ใส) |
มีค่าใช้จ่ายบำรุงรักษาและมีค่าไฟฟ้า | มีกลิ่นเหม็นจากกระบวนการบำบัด | |
ต้องมีการตรวจสอบดูแลอุปกรณ์ไฟฟ้าสม่ำเสมอ | ใช้เวลาบำบัดนานกว่า-ไม่มีปั๊ม | |
มีต้นทุนเริ่มต้นสูงกว่า | ต้องบำรุงรักษาโดยดูดตะกอนถี่กว่า |
สรุปให้เข้าใจง่าย คือ ถังบำบัดใช้ปั๊มเติมอากาศสามารถรับน้ำเสียจาก คนใช้งานเยอะได้ ลดกลิ่นได้ คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ดี แต่หากปริมาณน้ำเสียมาก แล้วนำถังบำบัดไร้อากาศไปใช้จะเกิดกลิ่นเหม็นตามมา ค่าbodจะสูง อ่านสรุปสั้น 2 ข้อ
ถังแบบเติมอากาศ (Aerobic tank) : เหมาะกับหน่วยงานที่ ต้องการน้ำทิ้งคุณภาพสูง ลดกลิ่นเหม็น ควบคุมค่าbodออก มีงบประมาณในการดูแลระบบ
ถังแบบไร้อากาศ (Anaerobic tank) : เหมาะกับพื้นที่ จำนวนคนใช้งานไม่มาก ถ้าคนมากจะเริ่มมีกลิ่นเหม็นรบกวน งบประมาณจำกัด ไม่ซีเรียสเรื่องคุณภาพน้ำทิ้งมากนัก
ถังบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ ที่ผ่านบำบัดแล้วได้ค่า BOD เข้า-ออก เท่าไหร่ ?
ปกติทั่วไปรายการคำนวณที่ วิศวกรสิ่งแวดล้อมเซ็นต์ น้ำเสียจากการขับถ่าย จะมีค่า bod เข้าระบบ 250 มิลลิกรัม ต่อลิตร ต่อวัน และ ค่า bod ออกจากระบบ 20 มิลลิกรัม ต่อลิตร ต่อวัน ค่านี้จะไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำ และของเสียที่ไหล เข้ามาในระบบบำบัด
- ถังบำบัดน้ำเสีย แบบเติมอากาศ ค่า bod in 250 ml.g/l/ – bod out 20-30 ml.g/l/ รับน้ำเสีย ขับถ่าย-น้ำอาบเท่านั้น ตามรายการคำนวณสิ่งแวดล้อม ระบบภายใน มีท่อเติมอากาศ อุปกรณ์เพิ่ม ใช้เครื่องเติมอากาศ
- ถังบำบัดน้ำเสีย ชนิดไร้อากาศ ค่า bod in 250 ml.g/l/ – bod out 50-70 ml.g/l/ รับน้ำเสียจาก น้ำอาบ-ขับถ่าย เท่านั้น ตามรายการคำนวณสิ่งแวดล้อม ภายใน ไม่ได้ติดตั้ง ท่อเติมอากาศ ใช้ระบบตกตะกอน กับ หัวเชื้อจุลินทรีย์ ย่อยสลายสิ่งปฏิกูล เท่านั้น
แนะนำ : ก่อนสั่งซื้อควรตรวจสอบว่า โครงการที่นำถังไปใช้ เหมาะกับระบบบำบัดประเภทใด เพราะ มีระบบบำบัด ชนิดเติมอากา Septic Aeration Tank กับ ระบบบำบัดชนิดไร้อากาศ Septic Anaerobic Tank เพราะ หน่วยงานแต่ละประเภท มีการขออนุญาต ก่อสร้างแตกต่างกัน
วิธีติดตั้งถังบำบัดน้ำเสียไฟเบอร์กลาส 10000 ลิตร ชนิดเติมอากาศ
วิธีติดตั้ง ถังบำบัดน้ำเสียไฟเบอร์กลาส ถูกต้อง หน้างานควรมี วิศวกรโยธา ที่มีประสบการณ์เป็นผู้ควบคุม ออกแบบเสาเข็ม เทฐานราก เพื่อให้งานติดตั้งปลอดภัยที่สุ
- การวางถังบนพื้น คอนกรีต ควรรอให้ปูนแห้งก่อน เสร็จแล้วเช็คระดับ
- พื้นต้องเรียบเสมอกัน จึงกวาดสิ่งสกปรกออก แล้วค่อยนำถัง ลงอย่างระมัดระวัง
- ถังแคปซูล มีน้ำหนักมาก หาทีมงานช่วยประคองถัง 4 คน ไม่ให้ถังกระแทก แกว่งไปกระแทกปากหลุมได้
วิธีขุดหลุม-ระวังใช้เครื่องจักร ติดตั้งถังบำบัดน้ำเสีย
- วางถังเสร็จแล้ว ให้รัดลวดสลิง โดยนำลวดสลิงมา คล้องกับหัวเกี่ยว ที่ฝังติดอยู่กับ พื้นคอนกรีต รัดลวดสลิงให้ห่างจาก ปากถังแมนโฮล ประมาณ 50 cm.
- ห้ามขุดถังลึกเกิน 50 cm. วัดจากพื้นทางเดิน ถึงบ่าถัง ถ้าลึกกว่านี้ถังจะต้องรับน้ำ
หนัก การกดลงของพื้นคอนกรีต อาจเกิดความเสี่ยง ทำให้ถังแตกได้
- ใช้ทรายหยาบ สำหรับฝังกลบเท่านั้น ห้ามใช้ดินเดิมที่ขุดขึ้นมา หรือดินปนทราย เพราะ ความแข็งของดิน จะทำให้เกิดแรงบีบอัด มากกว่าทราย
วิธีกลบทราย เพื่อติดตั้งถังบำบัดน้ำเสีย
ห้ามรถแบคโฮล วิ่งใกล้ถัง เพราะ น้ำหนักจากตัวรถ อาจทำให้ถังแตกได้ ควรระวังไม่ให้แบคโฮล ตักทรายขึ้นแล้วปล่อยลงบนถัง จะทำให้ถังยุบตัวเสียหาย ดูสรุป 3 ข้อช่วยให้เข้าใจการติดตั้งง่ายขึ้น :
- ภายในถังบำบัดจะมีช่อง ให้เติมน้ำใส่ แต่ละช่อง 50 cm. ช่องถัดไปก็เติมน้ำ 50 cm. เช่นเดียวกัน ถ้ามี 3 ช่องก็ให้ทำวนไปแบบนี้ จนน้ำเต็มถัง เสร็จแล้วให้นำทรายลง ครั้งละ 50 cm. แล้วใช้น้ำฉีดพรมบนทราย แล้วให้คนงานลงไปเดิน เพื่อให้ทรายแน่นตัว
- ต่อท่อน้ำทิ้งจากห้องน้ำ มาสวมกับท่อเข้าถังบำบัด ขนาด 4 นิ้ว และ ท่อน้ำออกของถัง ขนาด 4 นิ้ว ปล่อยไปลงบ่อพักของโครงการ (ขนาดของท่อสามารถ ปรับตามความเหมาะสมของ การใช้งานจริงได้)
- เดินท่อเติมอากาศที่อยู่ บนบ่าถังต่อเข้ากับ ท่อจากเครื่องเติมอากาศ และควรติดตั้งปั๊มใกล้ถัง รัศมีไม่เกิน 2 เมตร ถ้าไกลกว่านี้ก็ได้แต่ลม ที่อัดลงไปในถังจะเบาลง
แนะนำ : ให้เตรียมคนงาน เพื่อกลบทรายลงหลุม เเป็นวิธีป้องกันความเสียหาย จากการใช้รถแบคโฮล ต้องเติมน้ำให้เต็มถัง ก่อนกลบทรายเท่านั้น ห้ามกลบทรายก่อนเติมน้ำเด็ดขาด เพราะ จะทำให้ถังแตก เนื่องจากในถังไม่มีน้ำ เป็นแรงต้านทราย ที่บีบอัดเข้ามา
สูตรคำนวณ ถังบำบัด 10000 ลิตร เติมอากาศ
- ใช้งานสำหรับ บ้าน 1 คน x 200 ลิตร = 200 ลิตร ต่อ 1 คน ใช้งานได้จำนวน 50 คน เพราะ บ้านคนใช้เวลาในการ กินนอน อยู่อาศัยมาก 10-20 ชั่วโมง
- ใช้งานสำหรับ สำนักงาน 1 คน x 50 ลิตร = 50 ลิตร ต่อ 1 คน ใช้งานได้จำนวน 200 คน เพราะ ออฟฟิศ คนทำงาน วันละประมาณ 10-12 ชั่วโมง
- ใช้งานสำหรับ ปั๊มน้ำมัน 1 คน x 30 ลิตร = 30 ลิตร ต่อ 1 คน ใช้งานได้จำนวน 333 คน ลูกค้าเข้ามาใช้บริการ 10-30 นาที
สรุปสำคัญ
- สำรวจพื้นที่ติดตั้ง เพื่อวางถังลงหลุมได้เหมาะสม
- ต้องมีวิศวกรคุมงาน มีประสบการณ์ในการติดตั้ง
- ต้องเลือกขนาดถังบำบัด เหมาะสมกับจำนวนคนใช้งาน
- เผื่อระยะเวลาผลิตถัง เอาเข้าหน้างานได้ทัน ตามเวลาที่กำหนดติดตั้ง
Reviews
There are no reviews yet.