ถังบำบัดน้ำเสี
ถังบำบัดน้ำเสี
คุณสมบัติวัสดุไฟเบอร์กลาส เลขที่มอก.435-2548 ใช้ไฟเบอร์เรซิ่น เรียกกันสั้นๆว่า ” FRP “ แปลเป็นไทยชื่อ โพลีเมอร์เสริมใย วัสดุนี้ช่วยทำให้ ถังพัฒนาได้ดีขึ้นกว่า เพราะ สมัยโบราณย้อนกลับไป 50-60 ปีที่ผ่านมา ยังเป็นแค่ระบบบ่อเกรอะ-ส้วมซึม หรือส้วมหลุม ทำให้ยังไม่ถูกสุขลักษณะเท่าไหร่นัก
จนเมื่อกาลเวลาผ่านมา จึงเกิดวิวัฒนาการ มีถังบำบัดไฟเบอร์กลาส รูปแบบแคปซูล ทำให้ระบบภายใน สามารถแบ่งซอยย่อย เป็นการบำบัดหลายส่วนได้ เช่น ระบบเกรอะ ระบบเติมอากาศ ระบบตกตะกอน จึงเกิดบำบัดน้ำเสียให้มีคุณภาพออกมาได้ดี โดยใช้อุปกรณ์ที่มีส่วนร่วม สำหรับการติดตั้งมี ปั๊มเติมอากาศ ลวดสลิง ฝาปิด ข้อต่ออ่อน หัวเชื้อจุลินทรีย์ มีเดีย
โครงการที่นำถัง 10000ลิตร ความกว้าง 2.00 m ความยาว 3.20 m. ความสูง 2.15 m. ไปใช้จึงเหมาะสำหรับ โรงงาน คอนโด โรงแรม ที่มีจำนวนคนใช้งานมาก ถังบำบัดชนิดเติมอากาศ มีประสิทธิภาพบำบัดน้ำได้ 10,000 Liter/Day รับเฉพาะน้ำเสียจากน้ำอาบ-น้ำขับถ่ายได้ดี
สารบัญสำคัญ
- คุณสมบัติการใช้งาน ถังบำบัดน้ำเสียไฟเบอร์กลาส 10000 ลิตร ชนิดเติมอากาศ
- วิธีทำงาน ถังบำบัดน้ำเสีย 10000 ลิตร เติมอากาศ
- เปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสียของ ถังบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ(Aerobic) – แบบไร้อากาศ(Anaerobic)
- ถังบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ ที่ผ่านบำบัดแล้วได้ค่า BOD เข้า-ออก เท่าไหร่ ?
- วิธีติดตั้ง ถังบำบัดน้ำเสียไฟเบอร์กลาส 10000 ลิตร ชนิดเติมอากาศ
- สูตรคำนวณ ถังบำบัด 10000 ลิตร เติมอากาศ
- สรุปสำคัญ
คุณสมบัติถังบำบัดน้ำเสียไฟเบอร์กลาส 10000 ลิตร ชนิดเติมอากาศ
- วัสดุที่ผลิต ไฟเบอร์กลาส มาตรฐานอุตสาหกรรม มอก.435-2548 ด้วยการพันไขว้ เพื่อให้เกิดความหนา ทำให้แข็งแรง ทนทาน
- ทรงแคปซูล ช่วยประหยัดพื้นที่ ด้านกว้างในการติดตั้ง สามารถสั่งผลิตได้หลายขนาด
- รองรับน้ำเสีย จากน้ำขับถ่าย น้ำอาบได้ ก่อนของเสียเข้าระบบ 5-7 วัน ควรเติมหัวเชื้อจุลินทรีย์ในถัง
- ลวดสลิงรัดถัง มีไว้เพื่อไม่ให้
ถัง เคลื่อนหลุดออกจากฐาน เวลาเติ มน้ำและกลบทราย
- ข้อต่ออ่อนพร้อมสายรัด สำหรับติดตั้งโดยการ สวมเข้ากับท่อ PVC เพื่อป้องกั
นการทรุดตัวของท่อ
- มีเดีย มีไว้สำหรับ จุลินทรีย์
เกาะอาศัย อยู่ในตัวถัง มีอายุ การใช้งานที่ยาวนาน
- หัวเชื้อจุลินทรีย์ เกาะอาศั
ยในมีเดีย มีไว้สำหรับ ย่อยสลายของเสีย
- ฝาปิด ABS มีไว้สำหรับป้องกัน สิ่งแปลกปลอม ตกลงในถัง
วิธีทำงาน ถังบำบัดน้ำเสีย 10000 ลิตร เติมอากาศ
- ขั้นตอนที่ 1 เป็น ระบบเกรอะ น้ำเสียไหลเข้ามาท่อเข้า ในช่องที่ 1 เพื่อแยกกาก อินทรีย์วัตถุหนักก่อน ซึ่งตะกอนหนักจะจมลงที่ก้นถัง ตะกอนเบาจะไหล ไปยังระบบบำบัดถัดไป
- ขั้นตอนที่ 2 ตะกอนน้ำเสีย จากช่องแรก จะไหลมาสัมผัสถูกลูกมีเดีย ทำให้เกิดการบำบัด จากหัวเชื้อจุลินทรีย์ ซึ่งทำหน้าที่ย่อยสลายอินทรีย์
วัตถุ พร้อมกับมีเครื่องเติมอากาศช่ วยเพิ่ม ประสิทธิภาพของจุลินทรีย์ ให้ทำงานได้ดีขึ้น
- ขั้นตอนที่ 3 ใช้ระบบตกตอนเบา ให้ตะกอนสกปรกตกลงก้นถัง น้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้ว จึงถูกปล่อยลงสู่ บ่อพัก ที่เตรียมไว้
เปรียบเทียบ ข้อดี-ข้อเสีย ของ ถังบำบัดน้ำเสียไฟเบอร์กลาสแบบเติมอากาศ (Aerobic) และ แบบไร้อากาศ (Anaerobic)
หัวข้อ | แบบเติมอากาศ (Aerobic) | แบบไร้อากาศ (Anaerobic) |
---|---|---|
ข้อดี | ประสิทธิภาพการบำบัดอยู่ในเกฑณ์ดี (BOD,COD) | ไม่ต้องใช้ไฟฟ้าในการเติมอากาศ |
คุณภาพน้ำทิ้งดี เหมาะกับพื้นที่ต้องการน้ำคุณภาพสูง | ติดตั้งง่ายกว่า ดูแลรักษาน้อย | |
ลดกลิ่นเหม็นได้ดีกว่า | ระยะยาวค่าใช้จ่ายในการเดินระบบต่ำกว่า | |
ใช้เวลาบำบัดสั้นกว่า-มีปั๊มเติมอากาศ | ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า | |
ข้อเสีย | หมั่นดูแลเครื่องเติมอากาศ | ประสิทธิภาพการบำบัดต่ำกว่า(น้ำทิ้งอาจไม่ใส) |
มีค่าใช้จ่ายบำรุงรักษาและมีค่าไฟฟ้า | มีกลิ่นเหม็นจากกระบวนการบำบัด | |
ต้องมีการตรวจสอบดูแลอุปกรณ์ไฟฟ้าสม่ำเสมอ | ใช้เวลาบำบัดนานกว่า-ไม่มีปั๊ม | |
มีต้นทุนเริ่มต้นสูงกว่า | ต้องบำรุงรักษาโดยดูดตะกอนถี่กว่า |
สรุปให้เข้าใจง่าย คือ ถังบำบัดใช้ปั๊มเติมอากาศสามารถรับน้ำเสียจาก คนใช้งานเยอะได้ ลดกลิ่นได้ คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ดี แต่หากปริมาณน้ำเสียมาก แล้วนำถังบำบัดไร้อากาศไปใช้จะเกิดกลิ่นเหม็นตามมา ค่าbodจะสูง อ่านสรุปสั้น 2 ข้อ
ถังแบบเติมอากาศ (Aerobic tank) : เหมาะกับหน่วยงานที่ ต้องการน้ำทิ้งคุณภาพสูง ลดกลิ่นเหม็น ควบคุมค่าbodออก มีงบประมาณในการดูแลระบบ
ถังแบบไร้อากาศ (Anaerobic tank) : เหมาะกับพื้นที่ จำนวนคนใช้งานไม่มาก ถ้าคนมากจะเริ่มมีกลิ่นเหม็นรบกวน งบประมาณจำกัด ไม่ซีเรียสเรื่องคุณภาพน้ำทิ้งมากนัก
ถังบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ ที่ผ่านบำบัดแล้วได้ค่า BOD เข้า-ออก เท่าไหร่ ?
ปกติทั่วไปรายการคำนวณที่ วิศวกรสิ่งแวดล้อมเซ็นต์ น้ำเสียจากการขับถ่าย จะมีค่า bod เข้าระบบ 250 มิลลิกรัม ต่อลิตร ต่อวัน และ ค่า bod ออกจากระบบ 20 มิลลิกรัม ต่อลิตร ต่อวัน ค่านี้จะไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำ และของเสียที่ไหล เข้ามาในระบบบำบัด
- ถังบำบัดน้ำเสีย แบบเติมอากาศ ค่า bod in 250 ml.g/l/ – bod out 20-30 ml.g/l/ รับน้ำเสีย ขับถ่าย-น้ำอาบเท่านั้น ตามรายการคำนวณสิ่งแวดล้อม ระบบภายใน มีท่อเติมอากาศ อุปกรณ์เพิ่ม ใช้เครื่องเติมอากาศ
- ถังบำบัดน้ำเสีย ชนิดไร้อากาศ ค่า bod in 250 ml.g/l/ – bod out 50-70 ml.g/l/ รับน้ำเสียจาก น้ำอาบ-ขับถ่าย เท่านั้น ตามรายการคำนวณสิ่งแวดล้อม ภายใน ไม่ได้ติดตั้ง ท่อเติมอากาศ ใช้ระบบตกตะกอน กับ หัวเชื้อจุลินทรีย์ ย่อยสลายสิ่งปฏิกูล เท่านั้น
แนะนำ : ก่อนสั่งซื้อควรตรวจสอบว่า โครงการที่นำถังไปใช้ เหมาะกับระบบบำบัดประเภทใด เพราะ มีระบบบำบัด ชนิดเติมอากา Septic Aeration Tank กับ ระบบบำบัดชนิดไร้อากาศ Septic Anaerobic Tank เพราะ หน่วยงานแต่ละประเภท มีการขออนุญาต ก่อสร้างแตกต่างกัน
วิธีติดตั้งถังบำบัดน้ำเสียไฟเบอร์กลาส 10000 ลิตร ชนิดเติมอากาศ
- วิธีติดตั้ง ถังบำบัดน้ำเสียไฟเบอร์กลาส ถูกต้อง หน้างานควรมี วิศวกรโยธา ที่มีประสบการณ์เป็นผู้ควบคุม ออกแบบเสาเข็ม เทฐานราก เพื่อให้งานติดตั้งปลอดภัยที่สุ
ด เพราะ ฐานรากต้องรับน้ำหนักของถังเมื่ อเติมน้ำเต็มได้ พื้นคอนกรีต สำหรับวางถัง ต้องวัดระดับให้เรียบ ไม่เป็นคลื่น เพราะอาจทำให้ ขาถังบิดตัว เมื่อเติมน้ำเต็ม - การวางถังบนพื้น คอนกรีต ควรรอให้ปูนแห้งก่อน เสร็จแล้วเช็คระดับ พื้นต้องเรียบเสมอกัน จึงกวาดสิ่งสกปรกออก แล้วค่อยนำถัง ลงอย่างระมัดระวัง แนะนำให้มีทีมงาน ช่วยประคองถัง 4 คน ไม่ให้ถังกระแทก แกว่งไปกระแทกปากหลุมได้
วิธีขุดหลุม-ระวังใช้เครื่องจักร ติดตั้งถังบำบัดน้ำเสีย
- วางถังเสร็จแล้ว ให้รัดลวดสลิง โดยนำลวดสลิงมา คล้องกับหัวเกี่ยว ที่ฝังติดอยู่กับ พื้นคอนกรีต รัดลวดสลิงให้ห่างจาก ปากถังแมนโฮล ประมาณ 50 cm.
- ห้ามขุดถังลึกเกิน 50 cm. วัดจากพื้นทางเดิน ถึงบ่าถัง ถ้าลึกกว่านี้ถังจะต้องรับน้ำ
หนัก การกดลงของพื้นคอนกรีต อาจเกิดความเสี่ยง ทำให้ถังแตกได้
- ใช้ทรายหยาบ สำหรับฝังกลบเท่านั้น ห้ามใช้ดินเดิมที่ขุดขึ้นมา หรือดินปนทราย เพราะ ความแข็งของดิน จะทำให้เกิดแรงบีบอัด มากกว่าทราย
วิธีกลบทราย เพื่อติดตั้งถังบำบัดน้ำเสีย
- ห้ามรถแบคโฮล วิ่งใกล้ถัง เพราะ น้ำหนักจากตัวรถ อาจทำให้ถังแตกได้ ควรระวังไม่ให้แบคโฮล ตักทรายขึ้นแล้วปล่อยลงบนถัง จะทำให้ถังยุบตัวเสียหาย
- ให้เตรียมคนงาน เพื่อกลบทรายลงหลุม เเป็นวิธีป้องกันความเสียหาย จากการใช้รถแบคโฮล ต้องเติมน้ำให้เต็มถัง ก่อนกลบทรายเท่านั้น ห้ามกลบทรายก่อนเติมน้ำเด็ดขาด เพราะ จะทำให้ถังแตก เนื่องจากในถังไม่มีน้ำ เป็นแรงต้านทราย ที่บีบอัดเข้ามา
- ภายในถังบำบัดจะมีช่อง ให้เติมน้ำใส่ แต่ละช่อง 50 cm. ช่องถัดไปก็เติมน้ำ 50 cm. เช่นเดียวกัน ถ้ามี 3 ช่องก็ให้ทำวนไปแบบนี้ จนน้ำเต็มถัง เสร็จแล้วให้นำทรายลง ครั้งละ 50 cm. แล้วใช้น้ำฉีดพรมบนทราย แล้วให้คนงานลงไปเดิน เพื่อให้ทรายแน่นตัว
- ต่อท่อน้ำทิ้งจากห้องน้ำ มาสวมกับท่อเข้าถังบำบัด ขนาด 4 นิ้ว และ ท่อน้ำออกของถัง ขนาด 4 นิ้ว ปล่อยไปลงบ่อพักของโครงการ (ขนาดของท่อสามารถ ปรับตามความเหมาะสมของ การใช้งานจริงได้)
- เดินท่อเติมอากาศที่อยู่ บนบ่าถังต่อเข้ากับ ท่อจากเครื่องเติมอากาศ และควรติดตั้งปั๊มใกล้ถัง รัศมีไม่เกิน 2 เมตร ถ้าไกลกว่านี้ก็ได้แต่ลม ที่อัดลงไปในถังจะเบาลง
สูตรคำนวณ ถังบำบัด 10000 ลิตร เติมอากาศ
- ใช้งานสำหรับ บ้าน 1 คน x 200 ลิตร = 200 ลิตร ต่อ 1 คน ใช้งานได้จำนวน 50 คน เพราะ บ้านคนใช้เวลาในการ กินนอน อยู่อาศัยมาก 10-20 ชั่วโมง
- ใช้งานสำหรับ สำนักงาน 1 คน x 50 ลิตร = 50 ลิตร ต่อ 1 คน ใช้งานได้จำนวน 200 คน เพราะ ออฟฟิศ คนทำงาน วันละประมาณ 10-12 ชั่วโมง
- ใช้งานสำหรับ ปั๊มน้ำมัน 1 คน x 30 ลิตร = 30 ลิตร ต่อ 1 คน ใช้งานได้จำนวน 333 คน ลูกค้าเข้ามาใช้บริการ 10-30 นาที
สรุปสำคัญ
- สำรวจพื้นที่ติดตั้งถัง เหมาะสมกับ การติดตั้งหรือไม่
- วัดขนาดถัง ว่าลงพื้นที่ หน้างานจริง ได้หรือไม่
- วิศวกรคุมงาน มีประสบการณ์ ในการติดตั้ง หรือไม่
- ขนาดถังบำบัด เหมาะสมกับ จำนวนคนใช้งาน หรือไม่
- ระยะเวลาผลิตถัง ทันการติดตั้ง หน้างานหรือไม่
Reviews
There are no reviews yet.