ถังบำบัดน้ำเสีย 600 ลิตร ชนิดไร้อากาศ ผลิตจาก วัสดุโพลีเอทธีลีน วัสดุเลขที่มอก.816-2556 ออกแบบเป็น ทรงกลมสีดำ เพื่อใช้ติดตั้งแบบ ฝังดินโดยเฉพาะ ขนาด กว้าง 0.95 เมตร สูง 1.12 เมตร แถมฟรี อุปกรณ์ร่วมใช้งานมี มีเดีย หัวเชื้อจุลินทรีย์ ข้อต่ออ่อนและสายรัด ฝาปิด abs ใช้เก็บน้ำเสียสำหรับ บ้านพักอาศัย 2 คน ออฟฟิศ 10 คน ปั๊มน้ำมัน 17 คน
สารบัญสรุปสำคัญ
- คุณสมบัติสำคัญของ ถังบำบัดน้ำเสีย 600 ลิตร มาตรฐานวัสดุ เลขที่มอก.816
- ขั้นตอนทำงานอุปกรณ์ในถังบำบัด
- วิธีคำนวณการใช้งาน ถังบำบัด 600 ลิตร
- วิธีตรวจสอบหน้างาน ก่อนติดตั้ง ถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูป
- วิธีตรวจเช็ค ระดับท่อเข้าอาคารและท่อเข้า
- วิธีการออกแบบ เสาเข็ม ฐานราก ถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูป
- เปรียบเทียบ ข้อดี–ข้อเสีย ถังบำบัดน้ำเสีย ทรงกลม – ถังบำบัดน้ำเสียไฟเบอร์กลาส
- สรุปสำคัญ
คุณสมบัติสำคัญของ ถังบำบัดน้ำเสีย 600 ลิตร มาตรฐาน วัสดุเลขที่มอก.816
- ถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูป 600 ลิตร ทำหน้าที่แยกสิ่งปฏิกูล บำบัดน้ำเสียเพื่อให้ ตะกอนหนักจมลงก้นถัง และ ตะกอนเบาจะไหล ผ่านลูกมีเดีย มีจุลินทรีย์ช่วยย่อยองเสีย ก่อนที่น้ำจะไหลไปลงบ่อพัก
- ใช้ข้อต่อเฟล็ก เพื่อยืดหยุ่นระหว่าง ท่อออกตัวอาคาร และ ท่อเข้าตัวถัง ด้านบนสุดของถัง เจาะท่ออากาศให้ 1 นิ้ว พร้อมกับ ท่อดูดตะกอนของเสีย 4 นิ้ว
- เป็นระบบที่ราคาประหยัดกว่า ถังบำบัดไฟเบอร์ทรงแคปซูล เพราะ วัสดุที่ใช้ผลิตทำมาจาก Polyethylene ซึ่งมีต้นทุนที่ถูกกว่า
- ระยะเวลาในการผลิต เพียง 1-2 เท่านั้น หากเป็นถัง ขนาดเล็ก โรงงานจะสั่งสต็อค สินค้าไว้แล้ว เมื่อลูกค้าต้องการด่วน
ขั้นตอนทำงานอุปกรณ์ในถังบำบัด
- มีเดีย สำหรับเป็นที่อยู่อาศัยของ หัวเชื้อจุลินทรีย์ ซึ่งจุลินทรีย์จะทำหน้าที่ ย่อยสลายของเสีย เมื่อน้ำมาสัมผัสถูกมีเดีย
- ข้อต่ออ่อนและสายรัด มีไว้สำหรับ สวมเข้ากับ ท่อน้ำเสีย ที่ปล่อยออกมาจากตัวบ้าน และสวมเข้ากับ ท่อเข้าของตัวถังน้ำเสีย
- ฝาปิด abs มีไว้ใช้เพื่อ ปิดปากถังด้านบนสุด จะแถมมาพร้อมกับแหวนรองฝา เพื่อป้องกันสิ่งแปลกปลอม ตกลงในถัง
- จุลินทรีย์ ใช้สำหรับย่อยสลาย ของเสียที่เกิดจาก การขับถ่าย ควรเทใช้ก่อน เปิดระบบห้องน้ำ 5 วัน เพื่อให้ จุลินทรีย์ ได้มีเวลาเพาะเชื้อ
วิธีคำนวณการใช้งาน ถังบำบัด 600 ลิตร
- คำนวณแบบปกติ บ้านพักอาศัย ใช้น้ำ 200 ลิตร / คน ออฟฟิศ ใช้น้ำ 50 ลิตร / คน ปั๊มน้ำมัน ใช้น้ำ 30 ลิตร / คน
- บ้านอาศัย จำนวน 1 คน x 200 ลิตร x 1.50 = 1 คน ใช้น้ำ 300 ลิตร 600 / 300 = ใช้ได้ 1-2 คน เพราะ พักอาศัย 14-24 ชั่วโมง
- สำนักงาน 1 คน x 50 ลิตร x 1.50 = 1 คน ใช้น้ำ 75 / ลิตร 600 / 75 ใช้ได้ 8 คน เพราะ คนทำงาน วันละประมาณ 10-12 ชั่วโมง
- ปั๊มน้ำมัน 1 คน x 30 ลิตร x 1.50 = 1 คน ใช้น้ำ 45 ลิตร 600 / 45 = ใช้ได้ 13 คน เพราะ มีคนเข้าใช้บริการ 15-60 นาที
- วิธีใช้ 1.50 คูณ เพราะ เป็นถังที่ใช้ระบบ บำบัดแบบไม่เติมอากาศ แต่หากเป็น ถังระบบเติมอากาศ ไม่จำเป็นต้อง คูณ 1.50
วิธีตรวจสอบติดตั้ง ถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูป
- ตรวจสอบแบบ และ ขนาดถัง ความกว้าง x ยาว x สูง สามารถติดตั้งหน้างาน ได้หรือไม่
- การฝังถัง ควรติดตั้งภายนอกอาคาร เพราะ จะไร้กลิ่นรบกวน และ ทำงานก่อสร้างง่าย ไม่มีของหนัก กดทับที่บ่าถัง
- หากตำแหน่งติดตั้ง อยู่ไกลห้องน้ำ ควรใส่บ่อพักทุก 3-4 เมตร เพื่อเซอร์วิสดูแลง่าย หากท่อมีการอุดตัน
- ถ้าถังมีขนาดที่ใหญ่เกินไป อาจจะใช้ขนาดเล็ก จำนวน 2 ใบ เพื่อต่อเชื่อมกันได้ หรือ ใช้ถังไฟเบอร์กลาส แคปซูลนอน เพื่อการประหยัด พื้นที่ติดตั้ง
วิธีตรวจเช็ค ระดับท่อเข้าอาคารและท่อเข้า
- ตรวจเช็คระดับ ท่อออก ของตัวอาคาร ที่ไหลเข้ามาสู่ ท่อเข้าตัวถังบำบัด และ ไหลจากถัง ไปท่อน้ำเสียสาธารณะ
- วัดระดับความเอียง ของท่อน้ำเข้า เทียบกับ ท่อน้ำออก ไม่น้อยกว่า 1 ต่อ 100 หรือ มีความสูง ต่างกัน 1 cm. ต่อ ความยาว 1 m.
- การเดินท่อน้ำเสีย เป็นระยะทางไกล ควรมีสิ่งที่ทำเพิ่มเติม คือ ช่องล้างท่อ FCO ที่ต้นทาง หรือ แก้ด้วยการวางบ่อพัก ทุกๆ 4-5 เมตร
- การติดตั้งท่อ airvent หรือ ท่ออากาศ ควรเดินจากใต้ดิน มาตั้งฉาก ชิดกับกำแพง แล้วต่อขึ้นสูงประมาณ 2 เมตร
- ตำแหน่งฝังถัง ไม่ควรมีรถขนาดใหญ่ น้ำหนักมาก วิ่งใกล้ถังระยะ 5-10 เมตร เช่น รถ 6 ล้อ รถเครน รถเทรเลอร์ เพราะ รถน้ำหนักมาก จะทำแรงสะเทือน ใต้ดิน อาจเกิดความเสี่ยง ทำถังแตก ร้าวรั่วซึม ควรมีวิศวกรโยธา มีประสบการณ์คุมงาน
วิธีออกแบบ เสาเข็ม ฐานราก ถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูป
- ให้วิศวกรโยธา งานระบบสุขาภิบาล ตรวจสอบขนาด โครงสร้าง เสาเข็ม คอนกรีต เพื่อรับน้ำหนัก การติดตั้งได้ดี เนื่องจาก ดินในแต่ละจังหวัด มีความนุ่ม แข็งแตกต่างกัน
- ควรขุดหลุม กว้างกว่าถัง อย่างน้อยด้านละ 50 cm. และ ห้ามขุดลึกเกิน 50 cm. วัดจากพื้นถนน ถึงบ่าถัง เพราะ หากลึกกว่านี้ ตัวถังจะรับน้ำหนักของพื้นคอนกรีต ที่กดลงมาที่บ่าถัง
- ขั้นตอนนำถังลงหลุม ต้องใช้เครื่องจักร ที่มีกำลังยกมากพอ เมื่อเทียบกับ น้ำหนักถังเปล่า ลูกค้าสามารถสอบถามน้ำหนักถัง จากฝ่ายขายได้ทันที
ระวังห้ามใช้ดินเดิมติดตั้ง
- ไม่ใช้ดินเดิมกลบฝัง เพราะ จะทำให้ถังแตก ใต้ดินอาจมี หิน เหล็ก ไปทิ่มถัง ให้เกิดความเสียหายได้ ต้องใช้ทรายหยาบติดตั้งเท่านั้น
- ฐานวางถังต้องเรียบเสมอกัน เติมน้ำให้เต็มถัง ก่อนกลบทรายหยาบ ใช้คนงานในการ เอาทรายลง เท่านั้น อย่าใช้รถแบคโฮล
ระวัง รถแบคโฮลทำ ถังบำบัดน้ำเสียแตก ร้าว
- สาเหตุที่ ถังบำบัดน้ำเสีย บุบ ยุบ แตก ร้าวรั่วซึม จากการติดตั้งโดยใช้รถแบคโฮล คือ รถวิ่งใกล้ถัง น้ำหนักของตัวรถมาก กดถังให้ยุบได้ รถตักทรายขึ้นมา แล้วปล่อยลงบนบ่าถัง ทำให้ถังร้าวรั่วได้
- การใช้ดินเก่า ดินเดินกลบฝัง อาจทำให้ความแข็ง ของดินเหนียว ปนกับหิน บีบอัดให้ถังรั่วได้ ดังนั้น ต้องใช้ทรายหยาบ ในการติดตั้งเท่านั้น
เปรียบเทียบ ข้อดี-ข้อเสีย ถังบำบัดน้ำเสีย ทรงกลม – ถังบำบัดน้ำเสียไฟเบอร์กลาส
เปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสียระหว่าง ถังบำบัดน้ำเสียไม่เติมอากาศ ทรงกลม กับถังบำบัดน้ำเสียไฟเบอร์กลาส ต่างกันอย่างไร อ่านวิธีเลือกถัง ให้เหมาะสมกับการใช้งาน ตามตัวอย่างนี้กัน :
ถังบำบัดน้ำเสีย ทรงกลม pe
- ข้อดี : ราคาถูกกว่าไฟเบอร์กลาส ระยะเวลาผลิต 1-2 วัน ไฟเบอร์กลาสผลิต 7-10 วันขึ้นอยู่กับขนาดถัง
- ข้อเสีย : รับน้ำเสียได้ไม่มาก ถังPE ถูกจำกัดด้วยรูปแบบทรงกลม ถังใหญ่สุด คือ 6000 ลิตร
ถังบำบัดน้ำเสียไฟเบอร์กลาส ทรงแคปซูล
- ข้อดี : ผลิตได้หลายแบบ ปรับขนาดได้ ทั้งความยาวและความกว้าง
- ข้อเสีย : ฟเบอร์กลาสราคาสูง ใช้ระยะเวลาผลิตนาน สั่งตามแบบลูกค้า
สรุปสำคัญ
- ต้องรู้จำนวนผู้ใช้งาน มีกี่คน รู้ประเภทโครงการ ที่นำถังไปใช้ เพราะ วิธีคำนวณต่างกัน
- ประสิทธิภาพถังบำบัดขนาด 600 ลิตร รับน้ำเสียจากบ้านได้ 2 คน ใช้งานออฟฟิศได้ 8 คน
- มาตรฐานสูตรคำนวณ พักอาศัย 200 ลิตร/คน สำนักงาน 50 ลิตร/ คน.
- ต้องมีช่างวิศวกร เก่งด้านประสบการณ์ติดตั้ง ควบคุมดูแล เพื่อให้งานเรียบร้อย
Reviews
There are no reviews yet.