วิธีติดตั้ง ถังบำบัดน้ำเสีย 4000 ลิตร เบื้องต้น แบบไร้อากาศ ขนาด กว้าง 1.88 เมตร สูง 1.87 เมตร โครงสร้างต้องตอกเข็ม เทพื้นคอนกรีตเรียบ ขุดหลุม กว้าง 2.38 เมตร ความลึกไม่เกิน 2.30 เมตร เติมน้ำเต็มถัง ก่อนกลบทรายเท่านั้น ห้ามใช้ดินเดิม และ ใช้คนงานกลบฝัง อุปกรณ์จำเป็น มีเดีย หัวเชื้อจุลินทรีย์ ข้อต่ออ่อนและสายรัด ฝาปิด abs วัสดุโพลีเอทธีลีน วัสดุ pe เลขที่มอก.816-2556 ทรงกลมสีดำ แบบฝังดิน
สารบัญสำคัญ
- ข้อดีสำหรับ ถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูป ขนาด 4000 ลิตร
- วิธีติดตั้ง ถังบำบัดน้ำเสีย 4000 ลิตร เบื้องต้น
- ข้อควรระวังการติดตั้ง ถังบำบัดน้ำเสีย 4000 ลิตร พีอี
- ตรวจสอบระดับท่อ ถังบำบัด 4000 ลิตร
- วิธีดูแลรักษา ถังบำบัดน้ำเสีย 4000 ลิตร หลังใช้งาน 1 ปี
- อุปกรณ์ที่มีประโยชน์สำหรับ ถังบำบัดน้ำเสีย 4000 ลิตร
- สรุปวิธีติดตั้ง ถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูป 4000 ลิตร
ข้อดีสำหรับ ถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูป ขนาด 4000 ลิตร
- รับน้ำเสียจากสุขภัณฑ์ สามารถบำบัดสิ่งปฏิกูล โดยใช้จุลินทรีย์ ที่อาศัยอยู่ใน ลูกมีเดีย ทำหน้าที่ย่อยของเสีย
- บรรจุน้ำเสียสำหรับ บ้านพักอาศัย 13 คน ออฟฟิศ 53 คน ปั๊มน้ำมัน 88 คน เป็นถังระบบใหม่ ซึ่งถูกนำมาใช้แทน ส้วมซึม บ่อวง
- บนบ่าถังมี 2 รู ที่มีประโยชน์แก่ถัง คือ รูสำหรับ สวมท่ออากาศ และ รูสำหรับดูดตะกอน น้ำเสียออกทิ้ง
- วัสดุ Polyethylene เลขที่มอก.816-2556 มั่นใจในการใช้งานระยะยาว เพราะ คุณสมบัติ เนื้อpe เหนียว และแข็ง ช่วยให้ถังฝังดินได้
- ตัวถังออกแบบ เป็นทรงกลม ประหยัดพื้นที่แนวยาว ใช้พื้นที่แนวตั้ง ช่วยให้มีพื้นที่ รอบข้างกลบทรายได้
- อุปกรณ์แถมฟรี มีเดีย หัวเชื้อจุลินทรีย์ 1 กิโลกรัม ข้อต่ออ่อนและสายรัด ฝาปิด abs เพื่อให้การติดตั้งสมบูรณ์
- เป็นระบบราคาประหยัดกว่า ถังน้ำเสียไฟเบอร์กลาส ทรงแคปซูล เพราะ วัสดุที่ผลิตทำจาก Polyethylene มีต้นทุนถูกกว่า
วิธีติดตั้ง ถังบำบัดน้ำเสีย 4000 ลิตร เบื้องต้น
- มีวิศวกรโยธาหน้างาน ออกแบบ โครงสร้าง เสาเข็ม พื้นคอนกรีต ควบคุมดูแล พื้นที่สำหรับติดตั้ง เพื่อให้ฐาน รับน้ำหนักถังได้ดี
- ใช้รถแบคโฮล ขุดหลุมได้ แต่ห้ามใช้แบคโฮล ตักทรายขึ้น แล้วปล่อยลงบริเวณถัง เพราะจะทำให้ถัง แตก ร้าวรั่วซึม
- วิธีขุดหลุม ต้องขุดกว้าง กว่าถัง ด้านละ 50 cm. และ ห้ามขุดลึกเกิน 50 cm. จากพื้นถนน ถึงบ่าถัง เพราะ หากลึกกว่านี้ เกิดความเสี่ยงที่ น้ำหนักจากทรายคอนกรีต กดลงให้ถังยุบตัวได้
- ขนาดโครงสร้าง เสาเข็ม ใช้เข็ม 6 เหลี่ยม ขนาด 3 มเตร หรือ 6 เมตร ขึ้นอยู่กับ น้ำหนักของถัง เมื่อบรรจุน้ำเต็ม ฐานคอนกรีต ต้องเทให้เรียบ
- วิธีนำถัง ลงหลุม ต้องใช้เครื่องจักร ที่มีกำลังมากพอ โดยคำนวณ น้ำหนักถังเปล่าก่อน แล้วมาคำนวณ แรงยกของรถ
- วิธีกลบทรายลงหลุม ห้ามใช้ดินเดิม กลบฝัง เพราะ จะทำให้ถังแตก ร้าว รั่วซึม ยุบบุบตัว เนื่องจากดินเดิม อาจจะมี หิน เหล็ก ไปทิ่มถัง ให้เกิดความเสียหายได้ ต้องใช้ทรายหยาบ กลบฝังเท่านั้น
- เมื่อนำถังวางลง บนฐานคอนกรีต อย่างระมัดระวังเสร็จ ต้องเติมน้ำเต็มถัง ก่อนกลบทรายหยาบ และ ต้องใช้คนงาน เอาทรายลงหลุม อย่าใช้รถแบคโฮล
- ให้คนงาน ตักทรายลงหลุม ครั้งละ 50 cm. แล้วพรมน้ำตาม เพื่อให้เนื้อทราย แน่นตัวขึ้น แล้วทำซ้ำไป จนกว่าทรายจะอยู่ระดับ บนสุดของถัง ให้คนงานลงไปเดิน บนทราย ก็จะทำให้ทราย แน่นตัวเร็วขึ้น
- เทคอนกรีต ด้านบนพื้นทางเดิน เพียง 10-15 cm. หรือ ตามวิศวกรหน้งงาน เห็นสมควรในการติดตั้ง
ข้อควรระวังการติดตั้ง ถังบำบัดน้ำเสีย 4000 ลิตรพีอี
- ไม่ควรให้รถ ขนาดใหญ่ มีน้ำหนักมาก วิ่งใกล้ถังระยะ 4-6 เมตร ยกตัวอย่าง รถ 6 ล้อ รถเครน รถเทรเลอร์ เพราะ น้ำหนักของรถ จะมีแรงสะเทือน และ แรงกดใต้ดิน อาจเกิดความเสี่ยง ทำให้ถังแตก ร้าวรั่วซึมได้ ควรมีวิศวกรโยธา ที่มีประสบการณ์ ดูแลควบคุมงาน
- สาเหตุที่ติดตั้ง ถังบำบัดน้ำเสีย ยุบ แตกร้าว รั่วซึม จากรถแบคโฮล เพราะ รถวิ่งใกล้ถัง น้ำหนักของรถ กดถังให้ยุบ เมื่อรถตักทรายขึ้นมา แล้วปล่อยลงบนถัง จะทำให้ถังแตก ร้าวรั่วได้
- อย่าเพิ่งรีบกลบทราย ถ้ายังไม่ได้เติมน้ำให้เต็มถังก่อน เพราะ ถังจะแข็งแรง รับแรงต้านจากทราย และ พื้นถนนด้านบนได้ อันดับแรก น้ำต้องเต็มถังก่อน แล้วค่อยนำทรายลงหลุม รอบละ 50 cm.
- วิธีเติม หัวเชื้อจุลินทรีย์ เมื่อติดตั้งถังบำบัดเสร็จ อย่าเพิ่งรีบเทหัวเชื้อ ให้คำนวณระยะเวลา ที่ของเสียจะเข้าระบบ ถังน้ำเสียseptic เสียก่อน เช่น ของเสียขับถ่ายเข้า วันที่ 7 ให้เติมจุลินทรีย์ วันที่ 1 เพื่อให้เชื้อ มีเวลาเจริญเติบโต ในถังเสียก่อน
ตรวจสอบระดับท่อ ถังบำบัด 4000 ลิตร
- ตรวจเช็คระดับ ท่อออกอาคาร กับ ท่อเข้าถังบำบัด ว่าน้ำไหลจากที่สูง ลงมาที่ต่ำ เพื่อปล่อยออกลง บ่อพักน้ำเสียสาธารณะ
- วัดระดับความเอียง ท่อน้ำเข้า เทียบกับ ท่อน้ำออก ไม่น้อยกว่า 1 ต่อ 100 หรือ ที่ความสูง ต่างกัน 1 cm. ต่อ ความยาว 1 m.
- เมื่อเดินท่อน้ำเสีย ระยะทางไกล ควรทำ ช่องล้างท่อ FCO เพิ่มที่ต้นทาง หรือ จะใช้วิธีวางบ่อพัก ทุกๆ 4-5 เมตร เพื่อป้องกันท่อตัน
- การติดตั้งท่อ airvent หรือ ท่ออากาศ ควรเดินจากใต้ดิน มาตั้งฉากกับกำแพง พร้อมกับต่อสูง ประมาณ 2 เมตร กันกลิ่นย้อนลงมา
- ขนาดท่อ 4 นิ้ว ระดับท่อเข้า ถังseptic ประมาณ เข้า 25 cm. ออก 30 cm. ช่วยให้น้ำไหลสะดวก เพราะ ต่างกัน 5 cm.
วิธีดูแลรักษา ถังบำบัดน้ำเสีย 4000 ลิตร หลังใช้งาน 1 ปี
- ควรดูดตะกอน 1 ครั้ง / ปี หมั่นเปิดฝาดูว่า ตะกอนสะสม มีความหนามากไป หรือไม่ ระบบการทำงาน เป็นปกติหรือไม่
- ท่อตัน กดชักโครกไม่ลง อาจเป็นสาเหตุให้ มีสิ่งแปลกปลอม เช่น ผ้าอนามัย อุดตันสะสม ที่ระยะกลางของท่อ กั้นไม่ให้น้ำไหลผ่าน
- หัวเชื้อจุลินทรีย์ ต้องเติมทุกครั้ง หลังมีการสูบส้วม หรือ ดูดตะกอนออกไปกำจัด เพราะ จุลินทรีย์ถูกดูด ออกจากถังไปด้วย
- น้ำยาล้างห้องน้ำ ที่มีฤทธิ์เป็นกรด ขจัดคราบสิ่งสกปรก กัดยาแนวแรง มีเคมีเข้มข้น อาจทำให้ หัวเชื้อจุลินทรีย์ในถังบำบัด เหลือน้อยลง
อุปกรณ์ที่มีประโยชน์สำหรับ ถังบำบัดน้ำเสีย 4000 ลิตร
- ฝาปิด abs พร้อมแหวนรอง มีไว้สำหรับ ปิดปากถังด้านบน ป้องกันสิ่งแปลกปลอม ตกลงในถัง ฝามีลักษณะสีดำ
- มีเดีย ใช้สำหรับเป็นที่อาศัยของ หัวเชื้อจุลินทรีย์ ซึ่งจุลินทรีย์ ทำหน้าที่ ย่อยสลายของเสีย เมื่อน้ำทำการ สัมผัสถูกมีเดีย
- ข้อต่ออ่อนและสายรัด flexible ทำหน้าที่ยืดหยุ่น เมื่อท่อเอียงลง จากพื้นทรุดตัว ติดตั้งโดยการสวม เข้าระหว่างท่อออก อาคาร กับ ท่อเข้าถังสำเร็จรูป
- หัวเชื้อจุลินทรีย์ ใช้สำหรับ ย่อยสลายของเสีย ที่เกิดจาก การขับถ่าย ควรเทใส่ลงในถัง ก่อนจะมีของเสีย 5 วัน เพื่อให้ จุลินทรีย์ ได้มีเวลาเพาะเชื้อ
สรุปวิธีติดตั้ง ถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูป 4000 ลิตร
มีวิศวกรโยธาหน้างาน ออกแบบ โครงสร้าง ควบคุมดูแล เมื่อทำการติดตั้ง สำรวจพื้นที่ กับ ขนาดถัง กว้าง x สูง ลงพื้นที่ได้ดี ปริมาตรถังเหมาะสมกับ การใช้งานเป็นอย่างดี ดูแลถูกต้อง ในทุกขั้นตอน
การใช้ทรายหยาบฝัง ใช้คนงานกลบ วิธีเติมจุลินทรีย์ ดูดตะกอนไปกำจัด 1 ปี / ครั้งและไม่ใช้น้ำยาล้างห้องน้ำที่มีฤิทธิ์แรงจะทำให้เชื้อจุลินทรีย์ตายและจะทำให้ถังมีกลิ่นเหม็น