ถังบำบัดน้ำเสีย 1000 ลิตร ราคา FRP คือ ถังที่ผลิตจากวัสดุ ไฟเบอร์กลาส (Fiber Reinforced Plastic) มาตรฐานวัสดุเลขมอก.435-2548 ทำงานด้วยระบบเกรอะกรองรวมไร้อากาศ(Anaerobic Tank) หัวเชื้อจุลินทรีย์ย่อยสลายสิ่งปฏิกูล มีประสิทธิภาพลดค่า bod ในน้ำเสียเหลือ *70-50 มิลลิกรัม* ใช้งานสำหรับบ้าน สำนักงาน

เปรียบเทียบถังบำบัดน้ำเสีย 1000 ลิตร ราคา ถูกสุดแบรนด์ยอดนิยม(2025)
แบรนด์ | ขนาด | ราคา | สั่งซื้อ |
---|---|---|---|
DOS | 1000 ลิตร | 3,490 บาท | ดูสินค้า |
ไทวัสดุ | 1000 ลิตร | 3,590 บาท | ดูสินค้า |
Pure | 1000 ลิตร | 2,500 บาท | โทรขอราคาส่วนลด |
ถังบำบัดน้ำเสียแบบไร้อากาศ มีหลายแบรนด์ มีมาตรฐานเลขที่วัสดุมอก.435-2548 เหมือนกัน ตัวถังทำจากวัสดุ ไฟเบอร์กลาสเหมือนกัน ระยะเวลาจัดส่งใกล้เคียงกัน ลูกค้าสามารถเลือกแบรนด์ที่ชอบ ได้ตามความต้องการ
แนะนำ : แบรนด์ DOS เก่าแก่มีมานาน เป็นที่นิยมในตลาด , ไทวัสดุมีสาขาทั่วประเทศมากมาย , Brand Pure จัดส่งทั่วประเทศ ราคาคุยง่าย
คุณสมบัติของถังบำบัดน้ำเสีย FRP 1000 ลิตร

ถังบำบัดน้ำเสีย 1000 ลิตร เป็นถังไฟเบอร์กลาส 1Q ที่ทำงานด้วยระบบบำบัดรวมไร้อากาศ บำบัดน้ำเสียจากน้ำขับถ่ายและน้ำอาบ ใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ย่อยสลายสิ่งปฏิกูล มีประสิทธิภาพบำบัดลดค่า bod ในน้ำเสียเหลือ 50-70 มิลลิกรัม*ทำให้ถังสำเร็จรูปบำบัดน้ำเสียได้ดีกว่าบ่อวง
หากน้ำเสียมีปริมาณมาก แนะนำเลือก ถังบำบัดน้ำเสียไฟเบอร์กลาส ขนาดใหญ่ชนิดเติมอากาศ จะสามารถรับน้ำเสียจาก โรงแรม โรงงงานอุตสาหกรรม ได้ดีกว่าถังไม่เติมอากาศ ถังบำบัด ขนาด 1000 ลิตรมีประสิทธิภาพในการลดค่า BOD ได้เหลือ *ค่า bod 50-20 มิลลิกรัม* ดูประสิทธิ
1.ลดกลิ่น – ลดค่า bod : ถังบำบัดน้ำเสียแบบไม่เติมอากาศ ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้แทน บ่อเกรอะ แบบสมัยก่อน ใช้สำหรับลดกลิ่นและลดค่าbodในน้ำเสียได้ดีขึ้นกว่าระบบเดิม
- ระบบบำบัดน้ำเสียแบบไร้อากาศ ช่วยลดค่า bod ในน้ำขับถ่ายได้ประมาณ 70-50 มิลลิกรัม*
- ใช้งานสำหรับ จำนวนคนไม่มาก รองรับน้ำเสียได้ตามปริมาตรถัง
- ใช้สำหรับรับน้ำเสียจากกิจกรรม น้ำอาบ-น้ำขับถ่าย
*ค่า bod 50-20 มิลลิกรัม* – มีความไม่แน่นอนสูง ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำเสียเข้าในถัง / ปริมาณจุลินทรีย์ในถัง / น้ำยาฆ่าเชื้อล้างห้องน้ำ / วิธีดูแลรักษาโดยสูบตะกอนทิ้ง ทุก 6 เดือนหรือ 1 ปี
2.วัสดุผลิต Fiberglass : ทำให้เกิดถังไฟเบอร์กลาสขนาดใหญ่ ช่วยให้ถังSeptic แข็งแรงทนทาน ติดตั้งใต้พื้นคอนกรีตที่ตอกเข็มกลบทรายได้ดี อายุการใช้งานนาน 20 ปี(ต้องติดตั้งถูกต้องและไม่รวมภัยธรรมชาติ) อุปกรณ์สำคัญที่ใช้งานร่วมกันมีดังนี้ :
- ข้อต่ออ่อนและสายรัด – ใช้สำหรับสวมเข้ากับท่อออกของตัวอาคาร
- หัวเชื้อจุลินทรีย์และมีเดีย – ทำงานร่วมกันเพื่อย่อยสลายสิ่งปฏิกูลในถัง
- ฝาปิด ABS – ป้องกันสิ่งแปลกปลอมตกลงในถัง
แนะนำ : เลือกใช้ถังบำบัดให้เหมาะสมกับจำนวนคน เพื่อป้องกันถังบำบัดน้ำเสียเต็มเร็วและมีกลิ่นเหม็น
ถังบำบัดน้ำเสีย ขนาด 1000 ลิตร ใช้งานได้กี่คน ?
ประเภทสถานที่ | จำนวนคนที่รองรับ (โดยประมาณ / วัน) |
---|---|
🏠 บ้านพักอาศัย | 2 – 3 คน |
🏢 ออฟฟิศ / สำนักงาน | 10 – 12 คน |
🏫 ปั๊มน้ำมัน | 10 – 15 คน |
เลือกถังบำบัดน้ำเสีย FRP 1000 ลิตร ให้เหมาะกับจำนวนผู้ใช้งาน เพราะ หน่วยงานแต่ละแบบ มีวิธีคำนวณใช้น้ำต่างกัน บ้านคนอยู่อาศัย 10-24 ชั่วโมง , ออฟฟิศ คนใช้เวลาทำงาน 8-10 ชั่วโมง , ปั๊มน้ำมัน 30-60 นาที วิธีคำนวณคนใช้น้ำในแต่ละแบบ :
- บ้านอยู่อาศัย – ใช้น้ำ 200 ลิตร / คน เพราะ ใช้เวลา 10-24 ชั่วโมง
- ออฟฟิศคนทำงาน – ใช้น้ำ 50 ลิตร / คน เพราะ ใช้เวลา 8-10 ชั่วโมง
- ปั๊มน้ำมัน – ใช้น้ำ 40 ลิตร / คน เพราะ ใช้เวลา 30-60 นาที
แนะนำ : ถังบำบัดขนาดเดียวกัน แต่รับน้ำเสียจากจำนวนคนแตกต่างกัน เพราะ โครงการแต่ละแบบมีวิธีการคำนวณใช้น้ำต่างกัน
ข้อดี–ข้อเสียถังบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ vs ไม่เติมอากาศ ต่างกันอย่างไร ?
ถังบำบัดน้ำเสีย แบบเติมอากาศ |
ถังบำบัดน้ำเสีย แบบไร้อากาศ |
|
---|---|---|
ประสิทธิภาพ | ลดกลิ่นได้ *ค่า BOD เหลือ 50–20 mg/L* |
มีกลิ่นบ้าง *ค่า BOD เหลือ 70–50 mg/L* |
ราคาความคุ้มค่า | ราคาสูงกว่า มีระบบเติมอากาศ |
ราคาประหยัด ไม่มีปั๊มเติมอากาศ |
การใช้งานที่เหมาะสม | รองรับจำนวนคนได้มากตามความจุถัง โรงแรม-ปั๊มน้ำมัน-โรงงาน |
บ้านพักอาศัย สำนักงานขนาดเล็ก |
ปัจจัยที่มีผลต่อ BOD | – ปริมาณน้ำเสียเข้าระบบ – ประเภทของน้ำเสีย – หัวเชื้อจุลินทรีย์ในถังบำบัด – น้ำยาล้างห้องน้ำ / สารเคมี – ปริมาณอ๊อกซิเจนในถัง , -การดูแลรักษาดูดตะกอนทุก 6 เดือน |
ต้องเลือกขนาดถัง ให้เหมาะกับโครงการ ที่ถูกควบคุมค่า BOD ในน้ำเสีย เพื่อให้การใช้งานมีประโยชน์สูงสุด เปรียบเทียบถัง 2 ชนิดที่ทำให้ค่า bod เข้าและออกแตกต่างกัน :
1.ถังบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ : ลดค่าน้ำเสีย BOD ออก = 50–20 mg/L เรื่องกลิ่นจะลดลงกว่า ถังไร้อากาศ เพราะ ใช้ปั๊มเติมอากาศช่วยเพิ่มอ๊อกซิเจน ทำให้น้ำหลังผ่านการบำบัดมีคุณภาพดีขึ้น
2.ถังบำบัดน้ำเสียแบบไร้อากาศ : ลดค่าน้ำเสีย BOD ออก = 70–50 mg/L มีกลิ่นบ้างเป็นปกติ เพราะ ใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ย่อยสลายสิ่งปฏิกูลอย่างเดียว
ข้อควรระวัง : * ค่าน้ำเสียที่ของถัง 2 ประเภท bod 70-20 มิลลิกรัม * – มีความไม่แน่นอนสูง ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำเสียเข้าถัง / หัวเชื้อจุลินทรีย์ในถัง / น้ำยาฆ่าเชื้อล้างห้องน้ำ / การดูแลรักษาถังโดย สูบตะกอนทิ้ง ทุก 6 เดือนหรือ 1 ปี
เปรียบเทียบถังบำบัด PE vs ไฟเบอร์กลาส ต่างกันอย่างไร ?
หัวข้อ | ถังบำบัดน้ำเสีย : PE | ถังบำบัดน้ำเสีย : ไฟเบอร์กลาส |
---|---|---|
ข้อดี | ✅ ราคาถูก ✅ ติดตั้งง่าย ค่าใช้จ่ายต่ำ |
✅ ผลิตได้หลายขนาด ✅ รองรับน้ำเสียปริมาณมาก |
ข้อเสีย | รับน้ำเสียจำกัด ขนาดถังสูงสุด 6000 ลิตร |
ราคาสูงกว่าพีอี ผลิต 7-10 วัน |
เหมาะกับ | บ้านขนาดเล็ก – กลาง ใช้ด่วน ติดตั้งง่าย |
อาคารขนาดใหญ่ โรงงาน, ปั๊มน้ำมัน, โรงแรม |
ถังบำบัดน้ำเสีย PE – ถังบำบัดน้ำเสีย ไฟเบอร์กลาส มีราคาต่างกัน เพราะ คุณสมบัติการรองรับน้ำเสียและวัตถุประสงค์การใช้งานแตกต่างกัน ข้อควรพิจารณาการใช้งานมีดังนี้ :
1.ถังบำบัดน้ำเสีย-โพลีเอธทีลีน PE: เหมาะสำหรับบ้าน สำนักงาน จำนวนคนใช้งานไม่มาก เป็นถังราคาประหยัด ผลิตได้เร็ว ส่งของได้ไวกว่าถังไฟเบอร์
2.ถังบำบัดน้ำเสีย-ไฟเบอร์กลาส – FRP : สามารถสั่งผลิตได้หลายขนาดตั้งแต่ 1,000 ลิตร, 10,000 ลิตร 100,000 ลิตร ทำได้ทั้งแบบเติมอากาศและไม่เติมอากาศ รูปแบบทรงกลม-ทรงแคปซูลก็ผลิตได้ นิยมใช้งานกับ โรงงานอุตสาหกรรม โรงแรม ปั๊มน้ำมัน เพราะ เป็นถังบำบัดน้ำเสียขนาดใหญ่
ข้อควรรู้ : ถังบำบัดและถังเก็บน้ำไฟเบอร์กลาส ทรงแคปซูล สามารถสั่งผลิตได้หลากหลายขนาด เช่น กว้าง 1.00 m. / 1.60 m. / 2.00 m. 3.00 m. จึงควรเลือกถังบำบัด ให้เหมาะกับจำนวนและสถานที่ติดตั้ง
อุปกรณ์ถังบำบัดน้ำเสีย ใช้งานอย่างไร ?
อุปกรณ์สำคัญที่ให้มาพร้อมกับถังบำบัด แต่ละชนิดมีอะไรบ้าง ทำหน้าที่อย่างไร เรามาดูไปด้วยกันค่ะ :
1.ข้อต่ออ่อน + สายรัด สำคัญอย่างไร ?
- ข้อต่ออ่อน(Flexible) : มีคุณสมบัติยืดหยุ่น ช่วยรับท่ออาคารและท่อเข้าถังบำบัด
- สายรัดข้อต่ออ่อน : สำหรับสวมท่อออกอาคารกับท่อเข้าถังบำบัด ป้องกันไม่ให้ท่อหลุดง่าย
2.ฝาปิดABS + หัวเชื้อจุลินทรีย์ ทำงานอย่างไร ?
- ฝาปิด ABS : เป็นอุปกรณ์ช่วยป้องกันสิ่งแปลกปลอม ตกลงไปในถัง
- หัวเชื้อจุลินทรีย์ : เป็นจุลินทรีย์ชนิดไม่ใช้อากาศ ช่วยลดค่า bod ในน้ำเสีย ใช้เติมก่อนน้ำเสียเข้าถัง 5-7 วัน
3.พลาสติกมีเดีย ทำงานอย่างไร ?
- มีเดีย : ติดตั้งในถังทำหน้าที่ ให้หัวเชื้อจุลินทรีย์อยู่อาศัย
- หัวเชื้อจุลินทรีย์ ทำหน้าที่ย่อยสลายกากตะกอน อาศัยอยู่ในพลาสติกลูกมีเดีย
4.ความสำคัญของท่อเข้าและออก + ท่อดูดตะกอน + ท่ออากาศ
- ท่อน้ำเข้า – ท่อน้ำออก สำหรับให้น้ำเสียไหลผ่าน มีขนาด 4 – 6 นิ้ว
- ท่ออากาศ 1-2 นิ้ว มีไว้สำหรับป้องกัน กลิ่นเหม็นย้อนกลับ ติดตั้งชิดกำแพง ต่อท่อสูง 2 เมตร
- ช่องดูดตะกอน 4 นิ้ว สำหรับดูดตะกอนไปกำจัดทิ้ง ควรดูแลรักษา ทุก 6 เดือน หรือ 1 ปี
วิธีติดตั้งถังบำบัดน้ำเสีย ขนาด 1000 ลิตร ไฟเบอร์กลาส
วิธีติดตั้งถังบำบัดน้ำเสีย 1000 ลิตร ไฟเบอร์กลาส คือ ห้ามรถแบคโฮลทำงานใกล้ถัง ห้ามรถตักทรายปล่อยบนถัง จะทำให้ถังบำบัดแตก ร้าว รั่วซึม แก้ไขโดยใช้คน กลบทรายหยาบเท่านั้น จากพื้นถึงบ่าถังความลึกเกิน 50 cm. จะทำให้ถังแตก ขนาดหลุมที่แคบจะส่งผลเสียกับถัง ตามตัวอย่างนี้ :
1.โครงสร้างเสาเข็ม-ฐานรากต้องแข็งแรง – รับน้ำหนักถังได้ดี
- วิธีติดตั้งตอกเสาเข็ม ฐานราก ควรมีวิศวกรโยธาออกแบบ ควบคุมงานติดตั้ง เพื่อความปลอดภัยต่อตัวถัง
- ขนาดของเสาเข็ม ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของถัง และดินในพื้นที่ติดตั้ง เพราะ ดินแต่ละเขตจังหวัด แข็งอ่อนแตกต่างกัน
2.ต้องใช้ทรายหยาบ กลบฝังถังบำบัดน้ำเสีย
- ใช้ทรายหยาบฝังเท่านั้น ห้ามใช้ดินเดิม เพราะ ดินเดิมอาจมีหินและเหล็กผสม ทำให้ถังแตกร้าว
- หากใช้ดินเดิมที่ขุดขึ้นมา จะมีความแข็งและเหนียว จะมีหินปน ทำให้ถังแตก
3.ท่อเข้า-ออกทำให้น้ำเสีย – ระบายออกได้ดี หรือไม่ ?
- ท่อน้ำเข้า-ท่อน้ำออก ของถังขนาด 600 ลิตร – 4000 ลิตร ใช้ขนาด 4 นิ้ว
- สามารถสั่งผลิตขนาดท่อได้ ถ้าต้องการขยายท่อน้ำเข้าและท่อน้ำออก 6 นิ้ว
4.ท่อ air vent หรือ ท่ออากาศ
- ติดตั้งท่ออากาศโดย เดินท่อจากบ่าถังขนานกับแนวพื้น ไปตั้งฉากกับกำแพง
- ช่วยกันกลิ่นเหม็นย้อนกลับ แต่ต้องต่อขึ้นสูง 2 เมตร เพื่อป้องกันกลิ่นย้อนกลับ
สาเหตุที่ถังบำบัดน้ำเสียแตก ร้าว ยุบตัว เกิดจากอะไร ?
การติดตั้งถังแซทที่ดี ควรวางแผนงานโดย มีการออกแบบโครงสร้างก่อน เตรียมหน้างานให้พร้อม คัดแยกวัสดุที่กีดขวางไม่จำเป็นออกให้หมด เพื่อให้หน้างานทำงานได้สะดวกคล่องตัว เรื่องที่ต้องระวังในการติดตั้ง ความเสี่ยงที่ทำให้ถังบำบัดแตกมีอไรบ้าง มาดูกันค่ะ :
1.ข้อห้ามสำหรับติดตั้ง – ไม่ให้รถแบคโฮล ปล่อยทรายบนถัง
ทรายที่หนักตกลงจากที่สูง บนสุดของถังไม่มีน้ำประคองตัว จะทำให้ถังเกิดความเสียหาย ยุบตัวแตกได้ :
- รถแบคโฮลตักทราย ปล่อยบนถัง หรือ ทำงานบริเวณใกล้กับถัง ทำให้บ่าถังยุบตัว
- แบคโฮลทำงานใกล้ถัง น้ำหนักรถที่มากเมื่อทำงานใกล้ถัง อาจจะพลาดไปเหยีบบนถัง ทำให้ถังแตกได้
2.ถังบำบัดแตกจาก – ขุดหลุมลึกเกิน 50 cm.
วิธีขุดหลุมที่ถูกต้อง ระดับความลึกต้องไม่เกิน 50 cm. จากพื้นถนนถึงบ่าถัง ถ้าลึกกว่านี้จะเกิดความเสี่ยงให้ถังยุบตัวได้ :
- ห้ามขุดหลุม ลึกเกิน 50 cm. วัดจากพื้นถึงบ่าถัง ถ้าลึกเกินกว่านี้ บ่าถังจะรับน้ำหนักจากพื้นคอนกรีตและทราย มากจนอาจทำให้ถังบำบัดแตกได้
- ขุดหลุมแคบ กว่า 50 cm. ต้องทำการเว้นระยะห่าง จากขอบหลุมถึงตัวถัง อย่างน้อยด้านละ 50 cm. เพื่อกลบทรายหยาบ ป้องกันเศษหินจากขอบหลุม
แนะนำ : หลุมที่แคบ กว่า 50cm.อาจจะทำให้ถังสัมผัสกับผนังดิน เกิดความเสี่ยงทำให้ถังแตกจากหินแทง ขอบผนังดินมักมีหินฝังอยู่
3.ถังขาดน้ำทำให้ทรายบีบอัด – ถังบำบัดรั่วซึม ยุบตัว
น้ำในถังมีคุณสมบัติที่ดี คือ ช่วยต้านทราย ป้องกันไม่ให้ถังยุบตัว จากแรงบีบอัดรอบข้าง :
- ลืมเติมน้ำในถัง ตอนนำถังลงหลุมเผลอกลบทรายไปก่อน ทำให้ในถังไม่มีน้ำเป็นแรงต้านทราย ถังจึงยุบแตก
แนะนำ : วิธีป้องกันถังแตก ใช้แรงคนนำทรายลงหลุม รอบละ 50 cm. แล้วพรมน้ำตาม เพื่อให้ทรายแน่นตัว ให้คนลงไปเดินบนทราย เพื่อทำให้ทรายแน่นตัว แต่ควรทำอย่างระมัดระวังอันตรายที่อาจเกิดขึ้น หากหลุมมีความลึก
วิธีติดตั้งท่อเข้า-ท่อออก-ท่ออากาศ
ก่อนนำถังลงหลุม ตรวจสอบว่าท่อเข้าและท่อออก อยู่ตรงระดับที่ต้องการ หรือไม่ เมื่อนำถังลงแล้ว ห้ามหมุนถังผิดตำแหน่ง เพราะ ท่อน้ำออก จะต้องอยู่สูงกว่าท่อน้ำเข้า
1.ก่อนนำถังลงหลุม ให้วัดระดับท่อน้ำเข้า-ท่อน้ำออก ทุกครั้ง
- วัดระดับท่อให้ชัดเจนอีกครั้ง ท่อออกต้องอยู่ต่ำกว่าท่อเข้า โดยวัดจากพื้นถึงท้องท่อออก
- ท่อออกต้องหันไปด้านที่มีบ่อพัก หรือด้านที่ออกไปบ่อสาธารณะ ระวังห้ามหมุนถังผิด
2.ระดับท่อเข้าต้องอยู่สูงกว่าระดับท่อออก
- ตรวจสอบให้มั่นใจด้วยการวัดระดับท่อ หลังจากที่ถังมาส่ง
- ตำแหน่งท่อน้ำเข้าจะอยู่สูง กว่าท่อออก เพื่อน้ำจะไหลระบายลงบ่อพักได้สะดวก
วิธีดูแลถังบำบัดน้ำเสียหลังใช้งาน
- เมื่อใช้งานถังไปแล้ว 6 เดือน ถึง 1 ปี หมั่นเปิดฝาดูกตะกอน หากมีตะกอนหนาให้จ้างรถเทศบาลดูดกากไปทิ้ง
- ทุกครั้งที่สูบตะกอนกำจัดทิ้ง ต้องเติมหัวเชื้อจุลินทรีย์ ใส่ถังบำบัด เพราะ จุลินทรีย์ถูกดูดออกไปด้วย
- ห้ามทิ้งผ้าอนามัย กระดาษชำระลงชักโครก เพราะ เป็นสาเหตุให้ท่ออุดตัน กดชักโครกน้ำไม่ลง
- ระวังน้ำยาล้างห้องน้ำ ที่มีฤทธิ์แรง อาจทำให้หัวเชื้อจุลินทรีย์ในถังตาย
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ – การใช้งานถังบำบัดน้ำเสีย
ถังไร้อากาศสามารถใช้ – ร่วมกับปั๊มเติมอากาศ ได้ไหม ?
ตอบ : ไม่สามารถใช้ได้ เพราะรุ่นนี้ผลิตขึ้นมา เพื่อใช้ในวัตถุประสงค์ไม่เติมอากาศ เพราะ ระบบภายในออกแบบมาแตกต่างกัน กับแบบเติมอากาศ ลูกค้าไม่ควรดัดแปลงถังเอง เพราะจะทำให้ตัวถังเกิดความเสียหาย
ถังรุ่นนี้วางบนพื้น – คอนกรีต ได้ไหม ?
ตอบ : ปกติจะนำไปติดตั้งฝังใต้ดิน แต่มีในบางกรณีลูกค้านำไปติดตั้งบนพื้นคอนกรีต โดยทางลูกค้าต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ฝ่ายขายให้ทราบก่อนที่สั่งซื้อ เพื่อให้เลือกรุ่นที่มั่นคงแข็งแรง ได้ตามวัตถุประสงค์ใช้งาน
ถังใบนี้ใช้รับน้ำเสีย – จากห้องครัว ได้ไหม ?
ตอบ : ไม่ควรมีน้ำจากห้องครัว มารวมกับน้ำขับถ่ายในถังบำบัด แต่ควรใช้ถังดักไขมันเพื่อ เพื่อดักเศษอาหารก่อนชั้นนึง
ติดตั้งแบบที่ไม่ต้อง – ตอกเข็ม เทพื้น ได้ไหม ?
ตอบ : ถังบำบัดทุกประเภทที่ฝังดิน ควรติดตั้งโดยการตอกเข็ม เทพื้นคอนกรีตให้เรียบ เว้นแต่ดินในพื้นที่นั้น ไม่สามารถกดเข็มได้ ควรมีวิศวกรโยธาผู้เชี่ยวชาญสำหรับดินในพื้นที่นั้น ช่วยเป็นที่ปรกษาดูแลงานให้ถูกต้อง
สรุปสำคัญ
- เลือกถังให้เหมาะสมกับโครงการ เช่น บ้านอยู่อาศัย หอพัก โรงงาน
- คำนวณจำนวนคนใช้งาน ให้เหมาะกับขนาดถังบำบัด เพื่อให้น้ำมีคุณภาพที่ดี
- วัดขนาดพื้นที่ติดตั้ง ก่อนสั่งซื้อถังทุกครั้ง เพื่อให้หน้างานทำงานได้คล่องตัว
- อย่าลืมดูแลระบบบำบัดหลังใช้งาน ทุกๆ 6-12 เดือน เช่น ดูดส้วม, ตรวจสอบท่อตัน
- ผู้รับเหมาที่ติดตั้งถังและวิศวกรคุมงาน ต้องมีประสบการณ์ในงานที่ทำ เพื่อให้งานปลอดภัย
Reviews
There are no reviews yet.